ส่วนประกอบของโปรแกรม Macromedia Flash 8
 

  

แถบคําสั่ง (Menu Bar)

แถบคำสั่ง (Menu bar) ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ สำหรับใช้งานทั่วไป เหมือนโปรแกรมอื่น ๆ
ได้แก่ เมน ูFile, Edit, Insert, Modify, Text, Commands, Control, Windows และ Help ดังภาพที่ 1

 
ภาพที่ 1


แถบเครื่องมือ (Tool Bars)


ภาพที่ 2

ในการเปิดใช้งานครั้งแรกแถบเครื่องมือจะไม่แสดงให้คลิกที่เมนู Windows > Toolbars >
แล้วคลิกทำเครื่องหมายถูกที่ Main, Controller และ Edit Bar ดังภาพที่ 3


ภาพที่ 3


กล่องเครื่องมือ (Toolbox)

กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
เป็นส่วนที่เก็บเครื่องมือต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวก
และรวดเร็วขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ
เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งาน ดังภาพที่ 4


ภาพที่ 4


 

ส่วนประกอบของโปรแกรม
 

 

 Flash มีการทำงานลักษณะเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ ที่ทำงานบน Windows ดังนี้
หมายเลข 1 คือ
Title Bar แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu)
ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
หมายเลข 2 คือ
 Menu Bar แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
หมายเลข 3 คือ
Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือการทำงานมาตรฐานของโปรแกรม เช่น ปุ่มเปิดงานใหม่
เปิดไฟล์เอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
หมายเลข 4 คือ
Toolbox แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ
หมายเลข 5 คือ
Timeline หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน
ประกอบด้วยส่วนทำงาน  เกี่ยวกับ Layer และ Timeline
หมายเลข 6 คือ
Stage พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"
เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น
หมายเลข 7 คือ
Panel หน้าต่างควบคุมฟังก์ชันงาน ซึ่งมีหลายฟังก์ชัน (หลายหน้าต่าง)

 

 


รายละเอียดของเครื่องมือกลุ่มเลือก


ภาพที่ 5

รายละเอียดของเครื่องมือกลุ่มวาดและตกแต่งภาพ


ภาพที่ 6

 

รายละเอียดของเครื่องมือกลุ่มมุมมอง (View)


ภาพที่ 7


รายละเอียดของเครื่องมือกลุ่มสีเส้นและสีพื้น (Colors)

ภาพที่ 8

 

 

 

       Timeline Frame และ Layer
 

     

         Timeline เป็นส่วนที่กำหนดความสั้นยาวของมูฟวี
Frame    เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลซึ่งอาจเป็นคำสั่ง รูปภาพหรือข้อความที่แสดงให้ผู้ชมได้เห็น
Layer      เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลแยกของจากกันเป็นชั้นๆเหมือนแผ่นใสเพื่อง่ายต่อการจัดการและแก้ไข
Stage     เป็นพื้นที่แสดงมูฟวี่ ที่อยู่ใน Frame และ Layer

 1. ปุ่มแสดงหรือซ่อน Timeline
 2. เลเยอร์ เฟรมจะต้องวางบนเลเยอร
 3. ปุ่มซ่อนและแสดงข้อมูลบนเลเยอร์
 4. ปุ่มอนุญาตให้แก้ไขและป้องการแก้ไขข้อมูลบนเลเยอร์
 5. เพลย์เฮดหัวอ่านเฟรมแต่ละช่อง
 6. หมายเลขประจำเฟรม
 7. เฟรม เปรียบเหมือนช่องเก็บเหตุการณ์ของมูฟวี่
 8. ปุ่มสร้างเลเยอร์ใหม่
 9. ปุ่มสร้างไกด์เลเยอร์
10.ปุ่มสร้างโฟล์เดอร์เลเยอร์
11. ปุ่มลบเลเยอร์
12. ปุ่มเซ็นเตอร์เฟรม
13. ปุ่มโอเนียน สกิน
14. ปุ่มโอเนียน สกินแบบโครงร่าง
15. ปุ่มแก้ไขเฟรมหลายเฟรมพร้อมกัน
16. ปุ่มโอเนียนมาร์คเกอร์
17. บอกตำแหน่งหมายเลขเฟรมในขณะทำงาน
18. บอกความเร็วการแสดงกี่เฟรมต่อวินาที
19. เวลาที่ใช้ในการมูฟวี่
 

 

การเปิดโปรแกรม
 

     
   วิธีที่ 1 ดับเบิลคลิกรูปสัญลักษณ์ icon Desktop ดังภาพ   

 

   วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Start > Programs > Macromedia > Macromedia Flash 8

 

 

   โปรแกรมจะเริ่มทำงานดังภาพ...

 

 

การสร้างไฟล์ใหม่
 

     
 คลิกที่ Flash Document ในส่วนของ Create New

 

 

หมายเหตุ
 

  เนื่องด้วยผลงานที่สร้างด้วย Flash ส่วนมากจะเป็นภาพเคลื่อนไหว
ดังนั้นจึงนิยมเรียกภาพเคลื่อนไหวที่ สร้างด้วย Flash ว่า "มูฟวี่ - Movie"
และเรียกไฟล์เอกสารของ Flash ว่า Movie File ด้วย

 

 

go to top